DCBT workshop สำหรับนักศึกษาแพทย์

Published on
Aug 31, 2023
|
By
Preaw
|
3
mins read

ช่วงเดือนนี้เมื่อปีก่อนยุคโควิด ได้ทำงานหนึ่งที่ประทับใจมาก ๆ คือการจัด DCBT ให้กับ นักศึกษาแพทย์ (Extern) ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสงขลา

DCBT ที่พวกเราชาว DCBT Lab ได้ร่วมกันคิดค้นขึ้นมา เป็นการผสมผสานระหว่าง Design Thinking และ Cognitive Behavioral Therapy (CBT) DCBT workshop ครั้งนี้ ทำเพื่อสร้างทักษะและให้เครื่องมือกับนักศึกษา เพื่อ หาความต้องการที่แท้จริง (Identify needs) เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหา ได้ทั้งของตนเองและผู้อื่น

โดยใช้ Cognitive model และ Case formulation ในเชิง CBT แล้วใช้กระบวนการ Design Thinking มาออกแบบสร้าง Intervention (หรือ Prototype)

ซึ่ง Cognitive model และ Case formulation ส่วนนี้ของทาง CBT มีความคล้ายคลึงกับ Empathy map และ Persona ของ Design Thinking แต่ CBT มีความลึกซึ้งมากกว่า CBT เพิ่มความรู้ด้านจิตวิทยาและการทำความเข้าใจคนที่ลึกกว่า Design Thinking อย่างเดียว ขณะเดียวกัน Design Thinking ก็ช่วยด้านการสร้างไอเดีย การทำต้นแบบและการทดสอบเพื่อ feedback ที่รวดเร็ว พวกเราให้นักศีกษาใช้เครื่องมือนี้ไปค้นหา needs ของผู้ป่วย เมื่อ formulate ได้แล้วก็ออกแบบ Intervention กัน ซึ่งอาจจะออกมาเป็นรูปแบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น บทสนทนา กระบวนการ หลักสูตร สิ่งแวดล้อม บริการใหม่ ๆ

Intervention ที่ Extern ของศูนย์แพทย์สงขลาทีมต่าง ๆ สร้างสรรค์ออกมาในครั้งนี้ จากการทำความเข้าใจผู้ป่วยในวอร์ดต่าง ๆ มีตั้งแต่

  • หมวกกันน็อค-ล็อคชีวิต เป็นหมวกกันน็อคที่สามารถป้องกันอุบัติเหตุได้ โดยรถจะสตาร์ทไม่ติดถ้าไม่ใส่หมวก และถ้าขับเร็วเกินจะเป็นเสียงพูดแบบ Non-stop หากเอาทฤษฎีมาจับ พบว่า การทำงานแบบนี้ใช้ฐานของ Operant Conditioning ของ B.F.Skinner
  • หนังสือเสียงคลายเหงา และ Lonely alert สัญญาณเตือนเวลาระดับความเหงาสูงใช้สำหรับผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวลำบากและอยู่บ้านคนเดียว เมื่อเหงาถึงจุดหนึ่งจะมีสัญญาณดัง เตือนเพื่อนบ้านในชุมชน ให้รีบเดินมาหา มาคุยด้วยให้ผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวลำบาก ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ Behavior activation ของ Peter Lewinsohn
  • กลุ่มไลน์ลูกเล็กสงขลาสำหรับคุณแม่วัยกลางคนที่มีความกังวลเรื่องลูก เป็นการใช้หลักการ Self-efficacy และ Social learning ของ Albert Bandura อีก intervention หนึ่งคือ ลุงวุฒิพิชิตโรคติดต่อ การส่งเสริมจุดแข็งในตัวผู้ป่วย ซึ่งเป็นหลักของ Strength-based CBT ของ Christine Padesky

สิ่งที่น่าสนใจคือใน Workshop DCBT ครั้งนี้ไม่มีการสอน ทฤษฎี เทคนิค หรือ โครงสร้างของการทำ CBT ไม่มีการสอนเรื่องโรคจิตเวชหรือการทำจิตบำบัด สิ่งที่ทำคือมีแค่ให้เครื่องมือในการทำความเข้าใจกลการเกิดปัญหาของตนเอง โดยใช้ Cognitive model แล้วให้ Extern ออกไปทำความเข้าใจทุกข์ของผู้ป่วย แล้วมาออกแบบ intervention เพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ Design Thinking ช่วย facilitate ให้เกิด การค้นพบร่วมกันและ ออกแบบร่วมกัน (Co-design/Co-creation) และทำซ้ำ ๆ รอบตามระยะเวลาที่มี

“Empathize and understand like a cognitive therapist, Ideate, design, and create like a designer, and feel the joy of discovery and co-creation”

หมอลี่ (พญ.ศิริรัตน์) เคยบอกว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า นี่คือการใช้ CBT หรือเปล่า จะต้องดูได้ว่าคนคนนั้นใช้ model อะไรในการทำความเข้าใจและ formulate กลไกการเกิดปัญหาของคนไข้ ถ้าเป็น CBT คือการใช้ Cognitive model และ Maintenance cycle ที่ผู้เขียนมาเรียน CBT แบบจริงจัง เพราะเชื่อว่า ถ้าเราจะช่วยคนและทำความเข้าใจคน มาเรียนจิตบำบัดนี่เพื่อจะได้เข้าใจคนได้ลึกมาก ๆ กว่านักออกแบบคนอื่นที่ไม่ได้มีทักษะการทำจิตบำบัด

เพราะถ้าเราเข้าใจคนที่มีความทุกข์จนเกิดโรคขึ้นมาแล้วและรู้วิธีช่วยเขาได้ เราก็ย่อมสามารถเข้าใจและช่วยเหลือคนที่มีความทุกข์ระดับที่น้อยกว่านั้นได้

ซึ่งนำมาดัดแปลงใช้ในการทำความเข้าใจ users หรือ customers ต่าง ๆ ได้ยิ่งลึกซึ้งขึ้นไปอีก — แต่ไป ๆ มา ๆ ผู้เขียนก็ชอบการทำจิตบำบัดด้วย ก็เลยเป็นนักจิตบำบัดด้วยเลย :-)

ด้วยความที่ CBT มีทั้งความยืดหยุ่น (flexibility)และ มีความถูกต้องแม่นยำสูง (high fidelity) CBT จึงสามารถนำไปใช้ในบริบทอื่น ๆ ได้นอกจากเรื่องทางโรคจิตเวชอย่างซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เรียกว่าเป็น Low-intensity CBT เช่น ในบริบทการทำงาน Burnout , เรื่องความไม่มั่นใจ Low self-esteem, เรื่องความสัมพันธ์, เรื่องการลดน้ำหนัก และอื่น ๆ อีกมากมาย และความสามารถในการออกแบบทางเลือกที่หลากหลายจึงสำคัญ เพราะไม่มี solution ใด ที่ universal เพราะทุก ๆ case ทุก ๆ เรื่องราวของแต่ละคนมีความเฉพาะตนเอง

ดังนั้นการสร้างทักษะเหล่านี้ให้คนที่แม้ไม่ได้ทำงานด้านจิตเวชโดยตรง แต่ทำงานด้านช่วยเหลือผู้อื่น ก็ยิ่งมีความสำคัญ เพราะเมื่อจัดการความทุกข์หรือปัญหาได้ยิ่งเร็วก็ยิ่งดี

เรื่องราวของ Workshoop ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอผลงานที่ World Congress of Behavioural and Cognitive Therapies Berlin 2019
DCBT Lab is co-founded by Prowpannarai Mallikamarl and Sirirat Ularntinon, M.D.

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท อาร์ทิพาเนีย จำกัด

Contact